การจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี

  • Home
  • ปริญญาโท
  • การจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี
(Master of Science Program in Cyber Security Management and Technology )

ชื่อหลักสูตร

  1. รหัสและชื่อหลักสูตร
    รหัส             : 25540681102446
    ภาษาไทย       : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี
    ภาษาอังกฤษ  : Master of Science Program in Cyber Security Management and Technology
  2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)        : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)   : Bachelor of Science (Computer Science)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย)         : วท.. (การจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)    : M.S. (Cyber Security Management and Technology)

ข้อมูลทั่วไป

  • จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
  • หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก2  ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร  2 ปี
  • หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ข  ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร  2 ปี
  • ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • การเข้ารับศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
  • เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
  • ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ความสำคัญ

      มหาวิทยาลัยรังสิต ตระหนักถึงความต้องการอย่างมากของทรัพยากรบุคคลในประเทศทางด้านการบริหารที่พร้อมด้วยความรู้ความสามารถในการคิดค้นพัฒนา และประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี  เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ธุรกิจ และบริการใหม่ๆ ในการแข่งขันในสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยีในองค์กร  การบริหารระบบฐานข้อมูล  การบริหารเทคโนโลยีงานประยุกต์วิสาหกิจ การบริหารความมั่นคงระบบสารสนเทศ  การบริหารเครือข่าย และการบริหารโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์

      การบริหารสารสนเทศ  โครงสร้างพื้นฐานทางความมั่นคงไซเบอร์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กรในยุคปัจจุบัน มีความต้องการผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านการรักษาความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยรังสิตเสนอโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอ มีโลกทัศน์กว้างขวางที่จะเป็นผู้คิดริเริ่ม สามารถบริหารจัดการ กำหนดนโยบาย และพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และประเทศชาติ รวมถึงเตรียมความพร้อมสำหรับประชาคมอาเซียนต่อไปในอนาคตให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และสามารถแข่งขันกับธุรกิจการค้าได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว

ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร

  • 384,000 บาท

แนวทางในกระประกอบอาชีพ

  • นักประเมินทางสารสนเทศ
  • นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • นักพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล
  • นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบเครือข่าย
  • นักวิเคราะห์ และพัฒนาปัญญาประดิษฐ์
  • นักวิเคราะห์ และจัดการข้อมูลดิจิทัล
  • นักวิจัยเบื้องต้นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • อาจารย์ในสถาบันการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร

แผนการเรียน

แผนการเรียนแบบ ก2 และแผน ข

แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข เรียนวิชาบังคับจำนวน 5 วิชา รวม 15 หน่วยกิต
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิจ
CST 611 การจัดการความมั่นคงไซเบอร์
(Cyber Security Management)
3(3-0-6)
CST 612 เทคโนโลยีระบบฐานข้อมูล
(Database System Technology)
3(3-0-6)
CST 613 วิทยาการข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่องจักร
(Data Science and Machine Learning)
3(3-0-6)
CST 614 การอนุวัตและการจัดการระบบสารสนเทศ
(Information System Implementation and Management)
3(3-0-6)
CST 615 วิจัยด้านการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี
(Cyber Security Management and Technology Research)
3(3-0-6)

หมวดวิชาเลือก

แผน ก แบบ ก2 เลือกเรียน 3 วิชา รวม 9 หน่วยกิต
แผน ข เลือกเรียน 5 วิชา รวม 15 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาด้าน Cyber Security

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิจ
CST 620 การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายในองค์กร
(Analysis and Design of Organizational Network Infrastructure)
3(3-0-6)
CST 621 การบริหารโครงการสำหรับระบบเครือข่าย
(Project Management for Network System)
3(3-0-6)
CST 623 สงครามไซเบอร์ยุคใหม่
(Modern Cyber Warfare)
3(3-0-6)
CST 624 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลินุกส์เพื่อความมั่นคงทางไซเบอร์
(LINUX Application Development for Cyber Security)
3(3-0-6)
CST 625 นิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล
(Digital Forensics)
3(3-0-6)

กลุ่มวิชาด้าน Data Science

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิจ
CST 626 การทําเหมืองข้อมูลเพื่อข่าวกรองเชิงธุรกิจ
(Data Mining for Business Intelligence)
3(3-0-6)
CST 627 การคลังข้อมูล
(Data Warehouse)
3(3-0-6)
CST 632 การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างมโนภาพข้อมูล
(Data Analysis and Data Visualization)
3(3-0-6)
CST 633 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับระบบข่าวกรอง
(Internet of Things for intelligence system)
3(3-0-6)
CST 634 วิทยาการเข้ารหัสลับและเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Cryptography and Blockchain Technology)
3(3-0-6)
CST 642 การเรียนรู้เชิงลึก
(Deep Learning)
3(3-0-6)
CST 643 การรับรู้ของเครื่องสำหรับระบบข่าวกรอง
(Machine Perception for Intelligence System)
3(3-0-6)
CST 651 วิศวกรรมข้อมูลสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่
(Data Engineering for Big Data)
3(3-0-6)
CST 652 การดำเนินงานพัฒนา
(Development Operations)
3(3-0-6)

กลุ่มวิชาด้าน Special Topic

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิจ
CST 672 การประกอบการและแนวโน้มใหม่ทางการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี
(Entrepreneurship and Emerging Trends in Cyber Security Management and Technology)
3(3-0-6)
CST 680 หัวข้อพิเศษทางด้านการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี
(Selected Topic in Cyber Security Management and Technology)
3(3-0-6)

วิทยานิพนธ์ ( ก แบบ ก2) / การศึกษาค้นคว้าอิสระ (แผน ข)

แผน ก แบบ ก2 จำนวน 12 หน่วยกิต
แผน ข จำนวน 6 หน่วยกิต
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิจ
CST 690 การสอบประมวลความรู้
(Comprehensive Examination)
0(0-0-0)
CST 698 การศึกษาค้นคว้าอิสระ
(Independent Studies)
6(0-12-6)
CST 699 วิทยานิพนธ์
(Thesis)
12(0-24-12)

ภาพรวมหลักสูตรการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และเทคโนโลยี

ข้อมูลติดต่อและรายละเอียดเพิ่มเติม

: 0-2997-2222 ต่อ 4072 คุณปิยวดี ใจสมบุญ วันจันทร์–ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.

: grad@rsu.ac.th หรือ piyavadee.m10@gmail.com

Verified by MonsterInsights